สถิติ
เปิดเมื่อ24/02/2014
อัพเดท28/02/2014
ผู้เข้าชม64935907
แสดงหน้า100185770
บทความ
ฮาร์ดแวร์
ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีการนำข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์
ชนิดของคอมพิวเตอร์
กำเนิดเครื่องคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ความหมายและความเป็นมา
ซอฟต์แวร์
Linux คืออะไร
Unix คืออะไร
การปรับแต่งเมาส์ให้ทำงานตามที่ต้องการ
ระบบปฏิบัติการ DOS เป็นอย่างไร
ระบบปฏิบัติการ Window 95 คืออะไร
ซอฟต์แวร์ คืออะไร
สารสนเทศ
สารสนเทศส่วนบุคคล ความจำเป็นของการใช้คอมพิวเตอร์
วิทยุ ทีวี บนอินเทอร์เน็ต
ทางด่วนข้อมูล รากฐานของการศึกษาทางไกล
เทคโนโลยีมัลติมีเดีย
มัลติมีเดีย ที่มาของการขยายเทคโนโลยีเครือข่าย
คอมพิวเตอร์สำหรับผู้บริหาร
คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์
ไมโครโปรเซสเซอร์ 64 บิต
สถาปัตยกรรมของ CPU 8086
สถาปัตยกรรมของ CPU Z-80
ประวัติความเป็นมาของไมโครโปรเซสเซอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลและอุปกรณ์เครือข่าย
รูปร่างเครือข่าย
ยูนิกซ์กับเน็ตเวอร์ก
การเชื่อมโยงระบบ UNIX กับระบบเครือข่าย DOS
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับระบบสำนักงานอัตโนมัติ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (2)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (1)
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31




ทางด่วนข้อมูล รากฐานของการศึกษาทางไกล

อ่าน 305 | ตอบ 1
ทางด่วนข้อมูล รากฐานของการศึกษาทางไกล

นับตั้งแต่ อัล กอร์ รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศนโยบายทางด่วนข้อมูล หรือทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) ขึ้นมา ดูเหมือนว่าจะเป็นการจุดประกายให้โลกได้รู้จักและตื่นตัวกับ 'เคเบิลใยแก้วนำแสง - Fiber Optic Cable' ตามมาด้วย
การเข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของทางด่วนข้อมูลนี้ได้ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้น บางคนไม่จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานในสำนักงาน แต่ก็สามารถเรียกประชุมกับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาได้ หรือบางคนอาจจะนั่งอยู่ที่บ้านแต่ก็สามารถจับจ่ายใช้สอยสินค้าได้ เป็นต้น
และไม่เพียงแต่การดำเนินชีวิตประจำวันทั้งในเรื่องส่วนตัวและธุรกิจการงานเท่านั้น ทางด่วนข้อมูลยังเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการศึกษาของมนุษยชาติอีกด้วย ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า ทางด่วนข้อมูลนี้แหละที่เป็นผู้ให้กำเนิดการเรียนการสอนที่เรารู้จักกันในชื่อว่า 'Tele Education'
ในปัจจุบัน ไม่เฉพาะแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่ให้ความสำคัญต่อระบบการเรียนการสอนผ่านทางด่วนข้อมูล หรือเคเบิลใยแก้วนำแสง แม้แต่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวด้วย รวมถึงประเทศไทย
ประเทศไทย เพิ่งรู้จักชื่อทางด่วนข้อมูลได้ประมาณ 4-5 ปีมานี้เอง หลังคำว่า 'โลกไร้พรมแดน หรือ โลกาภิวัตน์ - Globalization' ไม่นานนัก แต่คำสองคำนี้ดูจะสอดคล้องต้องกัน เพราะเมื่อมีทางด่วนข้อมูลเมื่อใด เมื่อนั้นพรมแดนแทบจะสิ้นความหมายไปในทันที
ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยของไทยหลายแห่งที่นำระบบทางด่วนข้อมูลมาใช้ในการเรียนการสอนกันบ้างแล้ว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาอีกแห่งหนึ่งที่นำความไฮเทคของเทคโนโลยีสื่อสารมาใช้สำหรับการเรียนของนิสิตและการสอนของอาจารย์ ที่เรียกได้ว่าได้รับการพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก ซึ่งเกิดจากการตัดสินใจที่รวดเร็ว ตั้งแต่ 6-7 ปีแล้ว นับว่าทีมบริหารของมหาวิทยาลัยมองการณ์ไกลทีเดียว เพราะถ้าตัดสินใจช่วงนี้ก็คงต้องชลอให้พันยุค IMF ก่อน
ทั้งนี้ ภายใต้การร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีกับบริษัทเทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารโครงการโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงข่ายทางด่วนข้อมูลข่าวสารให้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

รศ. ยืน ภู่วรวรรณ ผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกับบริษัทเทเลคอมเอเซียฯ วางโครงข่ายทางด่วนข้อมูลข่าวสารไปยังวิทยาเขตต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยด้วยไมโครเวฟ ในปัจจุบันขยายเครือข่ายด้วยเทคโนโลยี ATM (Asychronous Transfer Mode) เป็นโครงข่ายหลัก (backbone) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานเครือข่ายแบบสื่อหลายแบบ (Multimedia) จนก่อให้เกิดโครงการเครือข่ายการเรียนรู้ (KULN - Kasetsart University Learning Network)

โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ ประกอบด้วย

ห้องเรียน ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับอาจารย์ 1 เครื่อง เชื่อมต่อกับ Object Display และวีดิโอโปรเจ็กเตอร์คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเครือข่ายนนทรีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อเรียกใช้ทรัพยากรต่าง ๆ จากเครือข่ายนนทรีและอินเทอร์เน็ตได้
สถานีสำหรับนิสิต point เป็นจุดที่นิสิตสามารถเข้ามาใช้เครื่องเพื่อเรียกเข้าสู่เครือข่ายนนทรีได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยติดต่อเครื่องภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เช่น โรงอาหาร ห้องปฏิบัติการ ห้องพักนิสิต ฯลฯ เพื่อสามารถใช้เครือข่ายได้ตลอดเวลา รวมถึงการเรียกเข้าจากบ้านผ่านโมเด็
สถานีบริการเว็บ เป็นสถานีบริการเก็บข้อมูล เนื้อหา ตำรา วิชาการต่าง ๆ เพื่อเรียกใช้ และการเก็บข้อมูลได้ทั้งภาพ เสียง วีดิโอ ฯล
การกระจายสัญญาณเสียง (real audio) เป็นสถานีวิทยุ เพื่อการศึกษาบนเครือข่ายนนทรี เปิดบริการตามความต้องการเก็บเนื้อหาต่าง ๆ ไว้บริการมากมาย
การกระจายสัญญาณวิดิโอ (real video) เป็นสถานีบริการทีวีออนดีมานด์ เก็บเนื้อหาทางด้านวิชาการไว้บริการ
เว็บบอร์ด (web board) เป็นสถานีบริการที่เก็บข้อมูล ข่าวสารเหมือนเป็นกระดานข่าวที่ใครจะนำข้อความข่าวสารมาติดไว้ได้
โฮมเพจนิสิต (student homepage) เป็นที่เก็บทรัพยากรข้อมูลข่าวสารของนิสิต ซึ่งสามารถทำการบ้านไว้ที่ homepage ของตน และส่งให้อาจารย์ตรวจได้ โดยการส่ง pointer บอกตำแหน่งของการบ้านที่เก็บไว้ อาจารย์จะเข้ามาตรวจการบ้านได้โดยอัตโนมัติ
ห้องสมุดดิจิตอล (Digital Library) เป็นที่เก็บข้อมูลความรู้ข่าวสารต่าง ๆ ที่สามารถเรียกค้นผ่านทางเครือข่ายได้ และเชื่อมโยงกับหน่วยงานอื่นทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการจัดการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนแบบเรียนที่ใดก็ได้ (any where) และเรียกเวลาใดก็ได้ (any time) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการเรียนการสอนได้ตลอดเวลา การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์นนทรี ทำให้นิสิตสามารถเรียกเข้ามาใช้ได้จากที่บ้านหรือที่ใดก็ได้ เป็นการเชื่อมประสานการใช้งานด้วยการเรียนการสอน โดยที่ไม่ต้องเดินทางมามหาวิทยาลัย ทำให้ระยะทางไม่เป็นข้อจำกัด และการกระจายโอกาสการเรียนการสอน ระบบการเรียนด้วย KULN จึงเป็นหนทางการเพิ่มคุณภาพการศึกษา

โครงการเครือข่ายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นบนทางด่วนข้อมูลให้ประโยชน์กับกลุ่มบุคคลหลายกลุ่ม เช่น

กลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาที่มีโอกาสจะเข้ามาเป็นนิสิต นักศึกษา การวางเครือข่ายการเรียนรู้นี้สามารถตอบสนองหรือเอื้ออำนวยให้นักเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ ได้ใช้ประโยชน์
นิสิตในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นเป้าหมายหลักที่จะใช้ประโยชน์โดยตรง
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย จะได้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของศิษย์เก่า เพื่อนำความรู้ต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพ เพราะความรู้เหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ประชาชนทั่วไป เป็นการบริการทางวิชาการ เพื่อให้คนไทยได้มีแหล่งความรู้ และเข้าถึงความรู้เรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเกษตร การส่งเสริมการเกษตร สุขภาพ และการดำรงชีวิตภายใต้ภาวะวิกฤติต่าง ๆ เป็นต้น
เผยแพร่ความรู้ไปในต่างประเทศ เนื่องจาก KULN บนเครือข่ายนนทรีเน็ต จะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายโลก ทำให้การติดต่อสื่อสารกับทั่วโลกได้
รศ. ยืน กล่าวอีกว่า สิ่งที่ได้ประโยชน์มาจากทางด่วนข้อมูลคือ อินเทอร์เน็ต เพราะผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่วิทยาเขตกำแพงแสนจะเรียกใช้ข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็วมากเหมือนอยู่ในกรุงเทพฯ เพราะทางด่วนข้อมูลที่ทำไว้มีแถบความถี่ (bandwidth) กว้างมาก
เครือข่ายทางด่วนข้อมูลข่าวสารใช้เคเบิลใยแก้วนำแสง ทำให้สภาพการใช้งานคงทน แม้ฝนตก ฟ้าร้อง การใช้ยังมีประสิทธิภาพเช่นเดิ
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีแผนที่จะนำข้อมูลจากตำรา ความรู้ต่าง ๆ ด้านการเกษตรกว่า 300 เล่ม จัดเก็บไว้ในเว็บไซต์มหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่าเป็น 'สถานีเว็บ' เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองของประชาชน เช่น ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรเพื่ออาชีพ การปลูกผัก การปลูกผลไม้ ปัญหาการใช้ปุ๋ย ฯลฯ ซึ่งอาจจะพูดรวม ๆ ได้ว่าเป็น 'ห้องสมุดความรู้การเกษตร' หรือ 'Digital Library' ห้องสมุดดิจิตอลยังสามารถเก็บบทบรรยายของมหาวิทยาลัยใส่เข้าไปในรูปแบบ real audio เพื่อฟังเสียงได้ด้วย
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมกับโครงการกาญจนาภิเษก และโครงการเครือข่ายโรงเรียนจัดทำโครงการ 'ห้องสมุดความรู้' โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน
รศ. ยืน มองอนาคตของการศึกษาไทยในอีก 5-10 ปีข้างหน้าว่า พื้นฐานการศึกษาที่เคยพูดว่า คนไทยต้องอ่านออกเขียนได้นั้น ควรเปลี่ยนเป็นว่าต้องสร้างให้เขาแสวงหาและเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เช่นทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีความรู้ในการเพิ่มผลผลิตในการเกษตร เรียนรู้และพัฒนาด้วยตนเอง หรือรู้จักการรักษาโรคภัยไข้เจ็บขั้นพื้นฐาน ใช้ยาถูกต้อง ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการกระจายความรู้ให้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ
คนเก่ง ๆ สามารถเรียนรู้ได้จากการอ่านหนังสือ แต่เดี๋ยวนี้อยู่ที่ว่าจะใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อช่วยกระจายความรู้ให้กว้างไกลโดยเสียต้นทุนต่ำ การเรียนรู้เหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องเรียนจากโรงเรียนอย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลา
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีทางด่วนสารสนเทศ ซึ่งเป็นทางด่วนข้อมูล จะนำพาสิ่งต่าง ๆ ไปสู่ยังชนบทห่างไกล เพื่อให้คนเหล่านั้นได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาข้อมูล ตำรับตำราได้เฉกเช่นเดียวกับคนในเมืองทั้งหลาย
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Amy
We stumbled over here coming from a different page and thought I should check things out. I like what I see so now i'm following you. Look forward to exploring your web page repeatedly.
 
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : http://markedallure799.hazblog.com
Amy [111.248.142.xxx] เมื่อ 21/05/2017 19:41
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :