จากคอมพิวเตอร์ในหลาย ๆ รุ่นที่ผ่านมา เรามีคอมพิวเตอร์ระบบ 8 บิต หรือชิพแบบ 8 บิต แล้วก็มา 16 บิต จึงถึงปัจจุบันที่ใช้กันส่วนใหญ่ ซึ่งก็เป็นแบบ 32 บิตและคอมพิวเตอร์รุ่นถัดไปที่กำลังจะก้าวเข้ามาแทนก็คือแบบ64 บิตนี้เอง โดยเหตุผลความจำเป็นหลาย ๆ อย่างที่แบบ 32 บิต ยังไม่เพียงพอ ซึ่งจะเป็นอย่างไรนั้นก็ติดตามได้จากบทความนี้
ชิพ 64 บิตหรือระบบ 64 บิตนั้น แท้จริงแล้วใช้อะไรมาเป็นมาตรฐานในกางกล่าวเช่นนั้น เราคงต้องมาพูดเรื่องนี้กันหน่อยผู้เขียนเชื่อแน่ว่ายังมีอีกหลายท่านยังไม่ทราบที่มา แล้วเข้าใจผิดว่าดูที่ขนาดดาต้าบัสบ้างหรือดูที่ขนาดแอดเดรสบัสบ้าง ซึ่งยังไม่ถูกต้องเสมอไป เพราะขนาดดังกล่าวอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าขนาดชิพจริง ๆ ก็ได้ แล้วแต่การออำแบบมาใช้งาน ขนาดชิพจะต้องดูดจากขนาดรีจิสเตอร์จำนวนเต็ม (integerregister) เท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น ในชิพ 8088 ซึ่งมีรีจิสเตอร์ขนาด 16 บิต แต่มีขนาดดาต้าบัสเป็ฯ 8 บิต และมีขนาดแดเดรสบัสเป็น 20 บิต ส่วนชิพ 8086 ซึ่งมีสถาปัตยกรรมเดียวกับ 8088 ทุกอย่าง ยกเว้นเพียงดาต้าบัสมีขนาด 16 บิต (ซึ่งถ้าเป็นปัจจุบันนี้อินเทลคงจะเรียกชิพ 8088 ว่า 8086sx ดังเช่นที่เรียกชิพ 386sx ซึ่งมีขนาด ดาต้าบัสแค่ 16 บิต และอย่าง 386dx ก็มีขนาดดาต้าบัสเป็น 24 บิต ขณะที่ 386 แท้แล้วขนาดบัสจะเป็ฯ 32 บิต จริง
ถ้าเป็นของมอโนโรลาคือ ไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล 680x0 ซึ่งมีขนาดรีจิสเตอร์ 32 บิต แต่เพียง 68020,68030 และ68040 เท่านั้นที่มีขนาดดาต้าบัสและแอดเดรสบัสเท่ากันคือ 32 บิต ส่วน 6800 มีขนาดดาต้าบัสเป็น 64 บิตและแอดเดรสบัสเป็น 24 บิต สรุปก็คือ 'ขนาดของชิพใด ๆ จะใช้มาตรฐานตามขนาดรีจิสเตอร์ระบุเท่านั้น'
|